ข่าวออนไลน์ รวมข่าววันนี้ เป็นการรวบรวมข่าวจากเว็บไซต์ต่างๆ ข่าวเด่นประเด็นร้อน ข่าวสารความเคลื่อนไหวทั้งในและต่างประเทศ คลิปเด็ด คลิปดัง นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร สู่ผู้ชมทั่วโลกผ่านสื่อออนไลน์ ไร้พรมแดน ไร้ผู้บงการ ไร้การรีดไถเงิน เป็นอิสระด้านความถูกต้อง นำเสนอข่าวด้วยความโปร่งใส เพื่อสังคมไทยปัจจุบัน

ผลตรวจยันชัด "ส้มตำถาด" เจอสารแคทเมียมเกินค่าความปลอดภัยถึง 1.4 เท่า อันตรายสุดๆ


วันที่ 4 ก.ย. นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในส้มตำถาดว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการสุ่มตัวตรวจส้มตำถาด 10 ตัวอย่างที่ใช้ถาดที่วาดลวดลายเป็นสีสันต่าง ๆมารองนั้นจากการตรวจสอบเฉพาะตัวถาดด้วยกรดน้ำส้มพบมีสารแคทเมียมเฉลี่ย 2.66มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่ค่าสูงสุดที่พบอยู่ที่ 5.44 มิลลิกรัมต่อลิตร
ส่วนการตรวจวิเคราะห์เนื้อส้มตำโดยตรงนั้นได้แบ่งออกเป็น3 กรณี คือ 1. กรณีวางส้มตำลงบนถาดโดยตรงพบสารแคทเมียมเฉลี่ย0.875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ค่าสูงสุดพบอยู่ที่ 1.438มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 2. วางส้มตำบนใบตองเอาไว้บางส่วนซึ่งยังมีน้ำส้มตำไหลออกมานั้นพบพบสารแคทเมียมในระดับ0.127 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.กรณีที่มีใบตองรองเอาไว้อย่างแน่นหนานั้นผลตรวจออกมาไม่พบสารแคทเมียมแต่อย่างใดทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัยของสารแคทเมียมอยู่ที่ระดับไม่เกิน25ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวของคน ซึ่งจากการคำนวณตามสูตรมาตรฐานความปลอดภัยโดยยึดเกณฑ์เฉลี่ยอายุของประชากรไทยที่อายุ58 กิโลกรัม พบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 66.5 ไมโครกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดถึง 1.4 เท่า
อย่างไรก็ตามในข้อเท็จจริงประชากรไทยมีสรีระค่อนข้างเล็ก บางคนน้ำหนักตัวน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่เอามาคำนวณดังนั้นโอกาสในการได้รับสารแคทเมียมเกินค่ามาตรฐานยิ่งมีมากขึ้นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า สารแคทเมียมเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษต่อไต และกระดูกหากได้รับสารดังกล่าวมาก จะทำให้เกิดภาวะไตวาย ปวดข้อกระดูก และมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งดังนั้นหากจะรับประทานส้มตำถามจริงๆต้องเลือกร้านค้าที่ใช้ถาดที่ผ่านมามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) 835/2531ซึ่งกำหนดมาตรฐานภาชนะสำหรับบรรจุอาหารโดยเฉพาะ“มอก.835/2531จะกำหนดมาตรฐานภาชนะสำหรับบรรจุอาหารต้องมีความปลอดภัยสูงสีที่ใช้ในการวาดลวดลายต่างๆ ต้องเป็นสีพิเศษ ซึ่งต้นทุนค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าอยากจะกินส้มตำถามกันจริงๆก็ต้องใช้ของที่มีมาตรฐาน แต่จากากรรที่เราไปตรวจสอบนี่ไม่พบว่ามี มอก. 835/2531เลย” นพ.อภิชัย กล่าวและว่า ส่วนการตรวจหาสารตะกั่วนั้นไม่ค่อยมีปัญหา พบว่ามีเพียง 3 ถาดตัวอย่างเท่านั้นที่พบว่ามีสารตะกั่ว.
ที่มา เดลินิวส์