ผลผลิตที่ทะลักออกจากสวนยางมีราคาขายตกต่ำลง ผนวกกับสต๊อกยางที่รัฐบาลเก็บไว้จนล้น ทำให้ล่าสุด ตัวแทนชาวสวนยางต่างยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 63 จังหวัด ส่งผ่านมาถึงนายกรัฐมนตรี ไม่ต้องการให้รัฐบาลขายยางในสต๊อกกว่า 1.2 แสนตัน หวั่นเป็นการซ้ำเติมราคายางที่ร่วงผล็อยในขณะนี้เข้าไปอีก
ผลกระทบของราคายางประเภทต่างๆ ที่ตกลงมา ทั้งยางแผ่นดิบ น้ำยางสด และเศษยาง สร้างความทุกข์ใจ เกิดเสียงร้องขอความเห็นใจจากชาวสวนยางไปยังรัฐบาล จะช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้นอย่างไรดี
ลองฟังกันดู...
นายแสวง บูรณะ อายุ 59 ปี ชาวสวนยาง ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ยอมรับว่า ชาวสวนยางต่างได้รับผลกระทบไปทั่ว ครอบครัวมีอาชีพทำสวนยางพารามานับ 10 ปี มา 2 ปีหลังนี่ย่ำแย่อย่างหนัก ราคายางดิ่งเหลือกิโลละ 24 บาท ต่ำติดดิน ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน สวนทางกับค่ายา ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน สวนทางกันหมด
"ครอบครัวมีอยู่กันหลายคน ยังต้องเลี้ยงลูกสาวพิการและหลานสาวอีก 2 คน ที่กำลังเรียนหนังสือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมากินมาลงทุน เป็นหนี้หลายแสนบาท ไม่นับรถเครื่องจักรเกษตรกรที่ค้างหนี้ผ่อนมา 6-7 เดือนแล้ว รวมแล้วก็ 6-7 หมื่นบาท ที่บ้านก็กู้แหลกทั้งในและนอกระบบ"
นายแสวงกล่าวว่า "อยากขอร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดพูดได้แล้วว่าชาวสวนยางจะปลูกอะไรกันนักหนา พวกเรามีอาชีพกรีดยางก็อยากได้ราคาที่ดีหน่อยเป็นข้าราชการก็อยากได้ขึ้นเงินเดือน พูดอย่างนี้มันบาดใจเหมือนประหารชาวสวนยางที่จนให้ตายทั้งเป็น ดังนั้น ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้สูงขึ้นอย่าให้ตกต่ำ"
นายเตี่ยม ปัดไตย ชาวสวนยางบ้านทุ่งโป่ง ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ปีนี้มีอายุ 57 ปี แล้ว เล่าว่า เคยทำสวนทำไร่มาตั้งแต่บรรพบุรุษก่อนหันมาปลูกต้นยางพาราประมาณ 40 ไร่ หวังว่าจะลืมตาอ้าปากได้สักที เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่จังหวัดสนับสนุน ก่อนหน้าก็ขายยางแผ่นดิบชั้น 3 ได้ราคาดีกิโลละกว่า 100 บาท แต่ปีนี้กรีดน้ำยางออกมา เอายางก้อนถ้วยไปขายตกรูดเหลือกิโลละ 22 บาท ทั้งที่ต้นทุนยางก้อนถ้วยกิโลละ 30 บาท
"แม้จะรวมกลุ่มในแบบสหกรณ์รวบรวมขายให้ได้ราคาดีกว่าพ่อค้าคนกลาง ก็ยังได้แค่กิโลละ 23-24 บาท ทุกวันนี้ต้องสู้ขายเป็นยางก้อนถ้วย เพราะไม่มีเงินทุนที่จะสร้างโรงงานรีดยางแผ่น ของผมต้องลงแรงด้วยตัวเอง ตื่นตีสองไล่กรีดยาง กว่าจะเอาไปขายก็ปาเข้าไปถึง 11 โมงเช้า"
นายเตี่ยมบอกอีกว่า สู้กันขนาดนี้หนี้สินก็ยังพุ่งตามมาหมด รถที่ใช้เดินทางขนส่งก็อาจจะถูกยึดได้
ขณะที่ นายสำรอง เพ็ชรทอง อายุ 55 ปี ชาวสวนยาง ต.วังใหม่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เดิมเคยขายยางพารากิโลละ 90-100 บาท รายได้ต่อวันอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท แต่ทุกวันนี้น้ำยางสด เหลือ 52 บาท รายได้ต่อวันก็เหลือ 750-800 บาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องใช้เงินที่เก็บออมออกมาใช้แล้ว
"ผมยังโชคดีมีเงินออม แต่ครอบครัวอื่นล่ะที่ไม่มีเงินเก็บจะทำยังไง ข้าวของ อาหารการกินก็สูงขึ้นไม่มีปรับราคาลงเหมือนยาง หากเป็นไปได้อยากจะได้ราคาขายน้ำยางสดตกกิโลละ 80 บาท"
นางจ๋า สุตระ ชาวสวนยาง ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เผยว่า มีอาชีพรับจ้างกรีดยางได้รับค่าจ้างแบ่งกับเจ้าของสวน สมัยยางราคากิโลละ 70-80 บาท จะได้ค่าตอบแทนอย่างน้อยวันละ 1,500 บาท เอาไปใช้จ่ายในครอบครัวอย่างน้อยก็มีเหลือเก็บวันละ 500 บาท แต่พอราคายางหล่นลงมา ทุกวันนี้มีรายได้เหลือแค่ 300 บาท ไหนจะค่าขนมลูกไปโรงเรียน รถจักรยานยนต์ที่ใกล้ผ่อนหมดก็เริ่มจ่ายผ่อนยืดออกไป มีเวลาเหลือก็ต้องไปรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า บอกลูกให้อดทนอีกนิด ลำบากจริงๆ ใครไม่มาเป็นชาวสวนยางรับจ้างกรีดไม่มีวันรู้ การช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิตครั้งที่แล้ว ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพราะเป็นลูกจ้าง นายจ้างได้รับหลายหมื่น กำลังรอว่าในรอบนี้จะช่วยเหลือชาวสวนยางอย่างไรบ้าง
ส่วน นายอนันต์ ไม่เปิดเผยนามสกุล รับจ้างกรีดยางในสวนยาง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา บ่นให้ฟังว่า ตอนราคายางเหลือไม่ถึงกิโลละ 50 บาท ใหม่ๆ การใช้ชีวิตก็เริ่มยากลำบากแล้ว รับจ้างกรีดยางต้องทำงานเท่าเดิม ขณะที่รายได้ลดต่ำลง เดินจ่ายข้าวของในตลาดแต่ละครั้งเงิน 500 บาท แทบไม่พอซื้อของ เคยมีรายได้วันละ 300-500 บาท เหลือวันละ 200-300 บาท แต่เหนื่อยเท่าเดิม ลูกก็ต้องไปโรงเรียน ไหนจะค่าผ่อนรถจักรยานยนต์ ไหนจะค่ากับข้าว ค่าไฟฟ้า ค่าช่วยงานสังคม และข้าวสารก็ต้องซื้อ แต่ละวันต้องได้เงินอย่างน้อย 300 บาทขึ้นไป พอจะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ บางครั้งต้องกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อใช้จ่ายภายในครัวเรือน
"รับจ้างกรีดยางไม่ใช่ได้รับเงินทุกวัน จะได้รับเฉพาะวันที่กรีดเท่านั้น กรีดเต็มที่ 1 เดือนจะกรีดได้ประมาณ 20-25 วันเท่านั้น ฝนตกหรือเจ็บป่วยก็ต้องหยุด รายได้ก็ไม่มี บางครั้งต้องออกหาผักในป่าเพื่อทำกับข้าว ชีวิตไม่ดีขึ้นเลย" นายอนันต์กล่าว
อีกราย นางสุณี สิทธิผ่อง ชาวสวนยาง อ.นาหม่อม จ.สงขลา บอกทันทีว่าเดือดร้อนมาก รายได้ลดลง แต่ต้องกรีดยางเท่าเดิม ราคาที่เป็นอยู่ในเวลานี้ชาวสวนอยู่ไม่ได้ แต่ยังต้องรับกรีดยางต่อไป ไม่กรีดก็ไม่มีจะกิน ได้เงินมาเล็กน้อยก็พอหาซื้อของจำเป็นในแต่ละวันประทังชีวิตไปก่อน จนกว่าราคายางพาราจะสูงขึ้น ทำสวนยางมาตลอดชีวิต ไม่รู้จะหันไปทำอาชีพอะไรที่ได้เงินรวดเร็วเหมือนการกรีดยาง
ในส่วนของ นายวิรัตน์ แก้วสร ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ราคายางพาราถือว่าตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี เราเห็นใจรัฐบาล เครือข่ายต่างๆ ก็ให้โอกาสให้รัฐบาล ที่ได้แก้ปัญหาเรื่องราคาข้าวให้ชาวนาไปแล้ว ตอนนี้ชาวสวนยางเดือดร้อนหนักจริงๆ หากเป็นไปได้อยากให้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างตลาดยางพาราของประเทศไทยเสียใหม่ ให้ชาวสวนยางมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทย
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.อุตรดิตถ์ เข้ายื่นหนังสือไปที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.อุตรดิตถ์ เพื่อส่งต่อไปยัง คสช.ช่วยเหลือราคายางพาราที่ตกต่ำด้วย ซึ่งรวมถึงจังหวัดอื่นๆ โดยขอให้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 25 ไร่ สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับ มี 20% เป็นกลุ่มที่ปลูกนอกพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ รวมถึงผลักดันสร้างโรงงานแปรรูปยางขนาดใหญ่ทุกภาคอย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง เพื่อลดการสูญเสียเงินให้กับนายหน้าหลายขั้นตอน
นี่คือหนังชีวิตจากก้นบึ้งคนสวนยาง หลายชีวิตที่ใช้น้ำพักน้ำแรงในสวนยาง กำลังประสบมรสุมน้ำยาง เป็นโจทย์หินที่รอคำตอบจากรัฐบาล "บิ๊กตู่ 1" จะมีแนวทางตอบโจทย์เหล่านี้อย่างไร
ผลกระทบของราคายางประเภทต่างๆ ที่ตกลงมา ทั้งยางแผ่นดิบ น้ำยางสด และเศษยาง สร้างความทุกข์ใจ เกิดเสียงร้องขอความเห็นใจจากชาวสวนยางไปยังรัฐบาล จะช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้นอย่างไรดี
ลองฟังกันดู...
นายแสวง บูรณะ อายุ 59 ปี ชาวสวนยาง ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร ยอมรับว่า ชาวสวนยางต่างได้รับผลกระทบไปทั่ว ครอบครัวมีอาชีพทำสวนยางพารามานับ 10 ปี มา 2 ปีหลังนี่ย่ำแย่อย่างหนัก ราคายางดิ่งเหลือกิโลละ 24 บาท ต่ำติดดิน ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน สวนทางกับค่ายา ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน สวนทางกันหมด
"ครอบครัวมีอยู่กันหลายคน ยังต้องเลี้ยงลูกสาวพิการและหลานสาวอีก 2 คน ที่กำลังเรียนหนังสือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมากินมาลงทุน เป็นหนี้หลายแสนบาท ไม่นับรถเครื่องจักรเกษตรกรที่ค้างหนี้ผ่อนมา 6-7 เดือนแล้ว รวมแล้วก็ 6-7 หมื่นบาท ที่บ้านก็กู้แหลกทั้งในและนอกระบบ"
นายแสวงกล่าวว่า "อยากขอร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดพูดได้แล้วว่าชาวสวนยางจะปลูกอะไรกันนักหนา พวกเรามีอาชีพกรีดยางก็อยากได้ราคาที่ดีหน่อยเป็นข้าราชการก็อยากได้ขึ้นเงินเดือน พูดอย่างนี้มันบาดใจเหมือนประหารชาวสวนยางที่จนให้ตายทั้งเป็น ดังนั้น ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้สูงขึ้นอย่าให้ตกต่ำ"
นายเตี่ยม ปัดไตย ชาวสวนยางบ้านทุ่งโป่ง ต.หนองป่าก่อ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ปีนี้มีอายุ 57 ปี แล้ว เล่าว่า เคยทำสวนทำไร่มาตั้งแต่บรรพบุรุษก่อนหันมาปลูกต้นยางพาราประมาณ 40 ไร่ หวังว่าจะลืมตาอ้าปากได้สักที เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจที่จังหวัดสนับสนุน ก่อนหน้าก็ขายยางแผ่นดิบชั้น 3 ได้ราคาดีกิโลละกว่า 100 บาท แต่ปีนี้กรีดน้ำยางออกมา เอายางก้อนถ้วยไปขายตกรูดเหลือกิโลละ 22 บาท ทั้งที่ต้นทุนยางก้อนถ้วยกิโลละ 30 บาท
"แม้จะรวมกลุ่มในแบบสหกรณ์รวบรวมขายให้ได้ราคาดีกว่าพ่อค้าคนกลาง ก็ยังได้แค่กิโลละ 23-24 บาท ทุกวันนี้ต้องสู้ขายเป็นยางก้อนถ้วย เพราะไม่มีเงินทุนที่จะสร้างโรงงานรีดยางแผ่น ของผมต้องลงแรงด้วยตัวเอง ตื่นตีสองไล่กรีดยาง กว่าจะเอาไปขายก็ปาเข้าไปถึง 11 โมงเช้า"
นายเตี่ยมบอกอีกว่า สู้กันขนาดนี้หนี้สินก็ยังพุ่งตามมาหมด รถที่ใช้เดินทางขนส่งก็อาจจะถูกยึดได้
ขณะที่ นายสำรอง เพ็ชรทอง อายุ 55 ปี ชาวสวนยาง ต.วังใหม่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เดิมเคยขายยางพารากิโลละ 90-100 บาท รายได้ต่อวันอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท แต่ทุกวันนี้น้ำยางสด เหลือ 52 บาท รายได้ต่อวันก็เหลือ 750-800 บาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องใช้เงินที่เก็บออมออกมาใช้แล้ว
"ผมยังโชคดีมีเงินออม แต่ครอบครัวอื่นล่ะที่ไม่มีเงินเก็บจะทำยังไง ข้าวของ อาหารการกินก็สูงขึ้นไม่มีปรับราคาลงเหมือนยาง หากเป็นไปได้อยากจะได้ราคาขายน้ำยางสดตกกิโลละ 80 บาท"
นางจ๋า สุตระ ชาวสวนยาง ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เผยว่า มีอาชีพรับจ้างกรีดยางได้รับค่าจ้างแบ่งกับเจ้าของสวน สมัยยางราคากิโลละ 70-80 บาท จะได้ค่าตอบแทนอย่างน้อยวันละ 1,500 บาท เอาไปใช้จ่ายในครอบครัวอย่างน้อยก็มีเหลือเก็บวันละ 500 บาท แต่พอราคายางหล่นลงมา ทุกวันนี้มีรายได้เหลือแค่ 300 บาท ไหนจะค่าขนมลูกไปโรงเรียน รถจักรยานยนต์ที่ใกล้ผ่อนหมดก็เริ่มจ่ายผ่อนยืดออกไป มีเวลาเหลือก็ต้องไปรับจ้างซักรีดเสื้อผ้า บอกลูกให้อดทนอีกนิด ลำบากจริงๆ ใครไม่มาเป็นชาวสวนยางรับจ้างกรีดไม่มีวันรู้ การช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิตครั้งที่แล้ว ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพราะเป็นลูกจ้าง นายจ้างได้รับหลายหมื่น กำลังรอว่าในรอบนี้จะช่วยเหลือชาวสวนยางอย่างไรบ้าง
ส่วน นายอนันต์ ไม่เปิดเผยนามสกุล รับจ้างกรีดยางในสวนยาง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา บ่นให้ฟังว่า ตอนราคายางเหลือไม่ถึงกิโลละ 50 บาท ใหม่ๆ การใช้ชีวิตก็เริ่มยากลำบากแล้ว รับจ้างกรีดยางต้องทำงานเท่าเดิม ขณะที่รายได้ลดต่ำลง เดินจ่ายข้าวของในตลาดแต่ละครั้งเงิน 500 บาท แทบไม่พอซื้อของ เคยมีรายได้วันละ 300-500 บาท เหลือวันละ 200-300 บาท แต่เหนื่อยเท่าเดิม ลูกก็ต้องไปโรงเรียน ไหนจะค่าผ่อนรถจักรยานยนต์ ไหนจะค่ากับข้าว ค่าไฟฟ้า ค่าช่วยงานสังคม และข้าวสารก็ต้องซื้อ แต่ละวันต้องได้เงินอย่างน้อย 300 บาทขึ้นไป พอจะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ บางครั้งต้องกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อใช้จ่ายภายในครัวเรือน
"รับจ้างกรีดยางไม่ใช่ได้รับเงินทุกวัน จะได้รับเฉพาะวันที่กรีดเท่านั้น กรีดเต็มที่ 1 เดือนจะกรีดได้ประมาณ 20-25 วันเท่านั้น ฝนตกหรือเจ็บป่วยก็ต้องหยุด รายได้ก็ไม่มี บางครั้งต้องออกหาผักในป่าเพื่อทำกับข้าว ชีวิตไม่ดีขึ้นเลย" นายอนันต์กล่าว
อีกราย นางสุณี สิทธิผ่อง ชาวสวนยาง อ.นาหม่อม จ.สงขลา บอกทันทีว่าเดือดร้อนมาก รายได้ลดลง แต่ต้องกรีดยางเท่าเดิม ราคาที่เป็นอยู่ในเวลานี้ชาวสวนอยู่ไม่ได้ แต่ยังต้องรับกรีดยางต่อไป ไม่กรีดก็ไม่มีจะกิน ได้เงินมาเล็กน้อยก็พอหาซื้อของจำเป็นในแต่ละวันประทังชีวิตไปก่อน จนกว่าราคายางพาราจะสูงขึ้น ทำสวนยางมาตลอดชีวิต ไม่รู้จะหันไปทำอาชีพอะไรที่ได้เงินรวดเร็วเหมือนการกรีดยาง
ในส่วนของ นายวิรัตน์ แก้วสร ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ราคายางพาราถือว่าตกต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี เราเห็นใจรัฐบาล เครือข่ายต่างๆ ก็ให้โอกาสให้รัฐบาล ที่ได้แก้ปัญหาเรื่องราคาข้าวให้ชาวนาไปแล้ว ตอนนี้ชาวสวนยางเดือดร้อนหนักจริงๆ หากเป็นไปได้อยากให้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างตลาดยางพาราของประเทศไทยเสียใหม่ ให้ชาวสวนยางมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราไทย
ขณะที่ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายชาวสวนยางพารา จ.อุตรดิตถ์ เข้ายื่นหนังสือไปที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.อุตรดิตถ์ เพื่อส่งต่อไปยัง คสช.ช่วยเหลือราคายางพาราที่ตกต่ำด้วย ซึ่งรวมถึงจังหวัดอื่นๆ โดยขอให้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 2,520 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 25 ไร่ สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับ มี 20% เป็นกลุ่มที่ปลูกนอกพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ รวมถึงผลักดันสร้างโรงงานแปรรูปยางขนาดใหญ่ทุกภาคอย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง เพื่อลดการสูญเสียเงินให้กับนายหน้าหลายขั้นตอน
นี่คือหนังชีวิตจากก้นบึ้งคนสวนยาง หลายชีวิตที่ใช้น้ำพักน้ำแรงในสวนยาง กำลังประสบมรสุมน้ำยาง เป็นโจทย์หินที่รอคำตอบจากรัฐบาล "บิ๊กตู่ 1" จะมีแนวทางตอบโจทย์เหล่านี้อย่างไร
ที่มา มติชน